สภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้ายกายภาพ
1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ ตั้งอยู่เลขที่ 63/1 หมู่ที่ 3 ตำบลแม่โถ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ลาน้อย มาทางทิศเหนือระยะทาง 50 กิโลเมตร มีพื้นที่ในเขตบริหารงานทั้งหมด 148 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ 92,500 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอนและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสันดอยระหว่างห้วยไม้ซางกับห้วยแม่ลาก๊ะน้อยไปตามสันดอยด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามสันดอยแม่ลาก๊ะน้อย (แนวแบ่งเขตอำเภอ) ผ่านสันดอยระหว่างห้วยแม่จอกับห้วยมะหินหลวงผ่านไปตามสันดอยระหว่างน้ำแม่โถกับน้ำแม่โกปี่ถึงสันดอยหลวงลงมาด้านทิศใต้ตามสันดอยหลวงจนสิ้นสุดสันดอยหลวง รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 22.6 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต องค์การบริหารส่วนตำบลขุนแม่ลาน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาจาง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีแนวเขตเริ่มจากสันดอยหลวงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามสันดอยหลวง ผ่านดอยตลับโพธิ์ผ่านไปตามสันดอยประตูเมืองถึงลำห้วยแม่ไผ่ ไปตามทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามกึ่งกลางลำห้วยแม่ไผ่สิ้นสุดที่กึ่งกลางลำห้วยไผ่มาบรรจบกับลำน้ำแม่ลาหลวง รวมระยะทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ 16.4 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับเขต องค์การบริหารส่วนตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางลำห้วยไผ่มาบรรจบกับลำน้ำแม่ลาหลวง ไปทางทิศตะวันตกตามกึ่งกลางลำน้ำแม่ลาหลวง สิ้นสุดที่บริเวณลำน้ำแม่ลาหลวงกับลำน้ำแม่โถมาบรรจบกัน รวมระยะทางด้านทิศใต้ ประมาณ 8.5 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มแนวเขตจากลำน้ำแม่ลาหลวงกับลำน้ำแม่โถมาบรรจบกันแล้วขึ้นไปตามทางด้านทิศเหนือตามกึ่งกลางลำน้ำแม่โถจนถึงบริเวณสิ้นสุดสันดอยห้วยไม้ซาง ขึ้นไปตามทางด้านทิศเหนือตามสันดอยห้วยไม้ซางสิ้นสุดบริเวณที่สันดอยห้วยไม้ซางพบกับห้วยแม่ลาก๊ะน้อย รวมระยะทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ 13.9 กิโลเมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลแม่โถ มีพื้นที่เป็นที่สูง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูกประมาณ ¼ ของพื้นที่ทั้งหมดตลอดสองฝั่งของลำน้ำที่ไหลผ่าน ชุมชนแต่ละหมู่บ้านตั้งอยู่เรียงรายสองฝั่งของลำน้ำ เช่น ลำน้ำแม่โถ และลำห้วยต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในการทำการเกษตรของประชากร
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของตำบลแม่โถ เป็นแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาล (Tropical Samana dimate : AW) สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน ในช่วงนี้จะได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จะมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป และมีฟ้าหลัวเกือบทั้งวัน เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดประมาณเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37 องศาเซลเซียส
2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ต้นปลายเดือนเมษายนถึงปลายเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดผ่านทะเลและมหาสมุทร เป็นลมที่มีความชื้นสูงทำให้ฝนตกชุกโดยทั่วไปปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยวัดได้ 1,238 มิลลิเมตร/ปี ซึ่งจะมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม 258 มิลลิเมตร มีฝนตกเฉลี่ย 122 วัน/ปี
3) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดพามาจากประเทศจีน นำเอาอากาศหนาวเย็นเข้ามาปกคลุมอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม เฉลี่ยประมาณ 14 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
1.4.1 ดินเหนียวปนทราย
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
1.5.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ
1.5.1.1 ลำห้วย
1.5.2 แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
1.5.2.1 ฝายกักเก็บน้ำหมู่บ้าน จำนวน 8 หมู่บ้าน
1.5.2.2 บ่อกักเก็บน้ำหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
1.6.1 ลักษณะของไม้
1.6.1.1 ไม้ไม่ผลัดใบ
1.6.1.2 ไม้ผลัดใบ
1.6.2 ลักษณะของป่าไม้
1.6.2.1 ป่าเต็งรัง จำนวน 7 หมู่บ้าน
1.6.2.2 ป่าดิบแล้ง (หมู่ที่7 บ้านห้วยผึ้งใหม่) จำนวน 1 หมู่บ้าน
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ มี 6 หมู่บ้านหย่อมบ้าน และมีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 8 หมู่บ้าน ดังนี้
6 หมู่บ้านหย่อมบ้าน
หย่อมบ้านโป่งน้ำร้อน บ้านผาแดงหลวง หมู่ที่ 2
หย่อมบ้านแม่โถน้อย บ้านแม่โถ หมู่ที่ 3
หย่อมบ้านแม่อุมพายใต้ บ้านแม่อุมพาย หมู่ที่ 5
หย่อมบ้านแม่จอเหนือ บ้านแม่จอ หมู่ที่ 6
หย่อมบ้านแม่จอกลาง บ้านแม่จอ หมู่ที่ 6
หย่อมบ้านห้วยผึ้งเก่า บ้านห้วยผึ้งใหม่ หมู่ที่ 7
8 หมู่บ้าน ตำบลแม่โถ
หมู่ที่ 1 บ้านหัวแม่โถ
หมู่ที่ 2 บ้านผาแดงหลวง
หมู่ที่ 3 บ้านแม่โถ
หมู่ที่ 4 บ้านแม่โถใต้
หมู่ที่ 5 บ้านแม่อุมพาย
หมู่ที่ 6 บ้านแม่จอ
หมู่ที่ 7 บ้านห้วยผึ้งใหม่
หมู่ที่ 8 บ้านห้วยไม้ซาง
กำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลแม่โถ
กำนันตำบลแม่โถ จำนวน 1 คน
สารวัตรกำนันตำบลแม่โถ จำนวน 2 คน
ผู้ใหญ่บ้านตำบลแม่โถ จำนวน 7 คน
รายชื่อกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลแม่โถ
นายทรงเดช แดนสรวงวิเวก ผู้ใหญ่บ้านหัวแม่โถ หมู่ที่ 1
นายประสิทธิ เต็มเม็ด ผู้ใหญ่บ้านผาแดงหลวง หมู่ที่ 2
นายอนศักดิ์ ศรีมณีทองกุล ผู้ใหญ่บ้านแม่โถ หมู่ที่ 3
นายสุรศักดิ์ ประสิทธิรัตนา ผู้ใหญ่ตำบลแม่โถ หมู่ที่ 4
นายสุพจน์ ทอผ้าทอง ผู้ใหญ่บ้านแม่อุมพาย หมู่ที่ 5
นายสมิตร สิงขรอรุณ ผู้ใหญ่บ้านแม่จอ หมู่ที่ 6
นายบุญลพ พันธ์พงไพร กำนันบ้านห้วยผึ้งใหม่ หมู่ที่ 7
นายอดุลย์ สิงขรอุทิศ ผู้ใหญ่บ้านห้วยไม้ซาง หมู่ที่ 8
2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2542 ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของ นายอำเภอแม่ลาน้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้บริหารคนปัจจุบัน คือ นายเทิดศักดิ์ พรจงมั่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ เป็นผู้บริหารสูงสุด
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ ได้จัดแบ่งโครงสร้าง ดังนี้
คณะผู้บริหาร
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน
เลขานุการนายกฯ จำนวน 1 คน
รายชื่อผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
1) นายเทดศักดิ์ พรจงมั่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
2) นายบุญมี กมลวิสัย รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
3) นายศักดิ์สิทธิ์ กิจโดมกุล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
4) นายพงษ์เดช ทองประกายดาว เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน
รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน
เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 6 คน
รายชื่อสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1) นายไววิทย์ ชาญกิจมั่น ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
2) นายสรพงษ์ อนันต์ศุภกุล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
3) นางสาวสุภาภรณ์ ทรายโชติคงคา สมาชิกสภาฯ หมู่ที่ 1
4) นายสงวน ชูวา สมาชิกสภาฯ หมู่ที่ ๒
5) นายธวัชชัย นวลศักดิ์ศรี สมาชิกสภาฯ หมู่ที่ ๓
6) นายกิตติชัย โชคบวรสกุล สมาชิกสภาฯ หมู่ที่ ๕
7) นายพิพัฒน์ ทรายภูรี สมาชิกสภาฯ หมู่ที่ ๗
8) นายบุญพบ คารวะตระกูล สมาชิกสภาฯ หมู่ที่ ๘
9) นายสกล ธิทะ เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ตำบลแม่โถมีประชากร ๒ ชนเผ่า ประกอบด้วย
1) ชนเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) จำนวนร้อยละ 95 ของประชากรทั้งหมด
2) ชนเผ่าม้ง จำนวนร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด
จำนวนครัวเรือน (หลัง)
ยอดรวมทั้งหมด 1,203 หลัง
หมู่ที่ 1 หัวแม่โถ 102 หลัง
หมู่ที่ 2 ผาแดงหลวง 142 หลัง
หมู่ที่ 3 แม่โถกลาง 186 หลัง
หมู่ที่ 4 แม่โถใต้ 152 หลัง
หมู่ที่ 5 แม่อุมพาย 149 หลัง
หมู่ที่ 6 แม่จอ 188 หลัง
หมู่ที่ 7 ห้วยผึ้งใหม่ 178 หลัง
หมู่ที่ 8 ห้วยไม้ซาง 106 หลัง
: ข้อมูลสถิติจำนวนบ้าน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ของเดือนเมษายน พ.ศ.2565
ชาย หญิง รวม
ยอดรวมทั้งหมด 1,908 1,918 3,826
หมู่ที่ 1 หัวแม่โถ 182 183 365
หมู่ที่ 2 ผาแดงหลวง 214 191 405
หมู่ที่ 3 แม่โถกลาง 220 235 455
หมู่ที่ 4 แม่โถใต้ 205 212 417
หมู่ที่ 5 แม่อุมพาย 203 221 424
หมู่ที่ 6 แม่จอ 276 264 540
หมู่ที่ 7 ห้วยผึ้งใหม่ 481 467 948
หมู่ที่ 8 ห้วยไม้ซาง 127 145 272
: ข้อมูลสถิติจำนวนประชากร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ของเดือนเมษายน พ.ศ.2565
จากเว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
4. สภาพสังคม
4.1 การศึกษา
4.1.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ จำนวน 3 แห่ง
4.1.2 โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 8 แห่ง
4.1.3 โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส) จำนวน 2 แห่ง
4.1.4 ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง
4.1.5 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 2 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
4.2.1 สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
4.2.2 สมาชิก อสม. จำนวน 8 หมู่บ้าน
4.3 อาชญากรรม
4.3.1 คดีทำร้ายร่างกาย
4.3.2 คดีฆ่าผู้อื่น
4.3.3 คดีลักทรัพย์
4.4 ยาเสพติด
4.4.1 ฝิ่น 4.4.2 แอมเฟตามีน
4.4.3 แอลกอฮอล์ 4.4.4 อื่นๆ เช่น บุหรี่
4.5 การสังคมสงเคราะห์
4.5.1 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่โถ
4.5.2 เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
4.5.3 เบี้ยยังชีพคนพิการ
4.5.4 เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
4.5.5 บ้านเทิดไท้เพื่อผู้ด้อยโอกาส, ผู้พิการ, ผู้สูงอายุ
4.5.6 สภาเด็กและเยาวชนตำบลแม่โถ
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
5.1.1 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายเชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน
5.1.2 ถนนถ่ายโอนภายในเขตตำบลแม่โถ
5.1.3 ถนนองค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ
5.1.4 ถนนดินลูกรัง
5.2 การไฟฟ้า
5.2.1 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
5.2.1.1 มีไฟฟ้าใช้ 8 หมู่บ้าน 4 หย่อมบ้าน
5.2.2.2 ไม่มีไฟฟ้าใช้ 2 หย่อมบ้าน (โซล่าเซลล์)
5.3 การประปา
5.3.1 ประปาหมู่บ้าน (ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จำนวน 1 แห่ง
5.3.2 ประปาภูเขา จำนวน 8 หมู่บ้าน
5.4 โทรศัพท์
5.4.1 ตู้โทรศัพท์สาธารณะทางไกลระบบดาวเทียม จำนวน 8 หมู่บ้าน
5.4.2 เครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ AIS จำนวน 7 หมู่บ้าน
5.4.3 เครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ DTAC จำนวน 2 หมู่บ้าน
5.4.4 เครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ True Move H จำนวน 7 หมู่บ้าน
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
5.5.1 บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด สาขาแม่ลาน้อย
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
6.1.1 ข้าวไร่ 6.1.2 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
6.1.3 มะเขือเทศ 6.1.4 กะหล่ำปลี
6.1.5 ถั่วเหลือง 6.1.6 ผักกาดขาวปลี
6.1.7 ส้มเขียวหวาน 6.1.8 แครอท
6.1.9 กาแฟ
6.2 การประมง
6.2.1 เลี้ยงปลาดุก
6.2.2 เลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ
6.3 การปศุสัตว์
6.3.1 เลี้ยงโค 6.3.2 เลี้ยงกระบือ
6.3.3 เลี้ยงสุกร 6.3.4 เลี้ยงไก่
6.4 การบริการ
6.4.1 ร้านซ่อมรถ
6.4.2 ร้านอาหาร
6.4.3 บ้านเช่า
6.4.4 เครื่องเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (หยอดเหรียญ)
6.4.5 เครื่องซักผ้าอัตโนมัติ (หยอดเหรียญ)
6.5 การท่องเที่ยว
6.5.1 น้ำพุร้อน หย่อมบ้านโป่งน้ำร้อน บ้านผาแดงหลวง หมู่ที่ 2
6.5.2 ดอยเลอเกอกุย บ้านหัวแม่โถ หมู่ที่ 1
6.6 อุตสาหกรรม
6.6.1 โรงสีข้าว
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
6.7.1 การพาณิชย์
6.7.1.1 ร้านค้า (โชห่วย)
6.7.1.2 ปั้มน้ำมัน (ปั้มหลอด)
6.7.1.3 ร้านค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้า
6.7.1.4 ร้านค้าวัสดุเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร
6.7.1.5 ปั้มน้ำมัน (ปั้มอัตโนมัติ หยอดเหรียญ)
6.7.2 กลุ่มอาชีพ
6.7.2.1 กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านแม่โถกลาง
6.7.2.2 กลุ่มตีมีดบ้านผ้าแดงหลวง
6.7.2.3 กลุ่มจักสานบ้านแม่โถกลาง
6.7.2.4 กลุ่มเกษตรกรตำบลแม่โถ
6.7.2.5 กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนตำบลแม่โถ
6.7.2.6 กลุ่มออมทรัพย์ กขคจ
6.7.2.7 กลุ่มหมู่บ้านละ 1,000,000
6.8 แรงงาน
6.8.1 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 80
6.8.2 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 15
6.8.3 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 4
6.8.4 ประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น รับราชการ ฯลฯ ร้อยละ 1